หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เล็ก ใหญ่ ก็แข่งขันคุณภาพ...

     เริ่มเข้ายุคการแข่งขันทางวิชาการ..มาแล้ว...เริ่มเข้ามาแล้ว..เริ่มจากแข่ง Speech  Contest  ..มา  รักษ์ภาษาไทย...ต่อไปจองคิวไว้ก็..วันภาษาไทย(29 กรกฎาคม ของทุกปี)..หรือที่เราเรียกว่าแข่งขันวิชาการน้อยนั่นเอง...สำคัญที่ว่า...ตอนนี้โรงเรียนเพิ่งจะเปิดเทอม..ยังสอนไม่เท่าไหร่เลย...ก็แข่งขันซะแล้ว...อ้าว...ไหว!...แข่งก็แข่ง....คัดเลือกได้เลย...มีอยู่แล้ว....เป็นรุ่นจิ๋วทางวิชาการ...สูงประมาณ  150  เซนติเมตร..มาแข่งขันและต่อสู้ทางคุณภาพทางการศึกษา...โรงเรียนท่านอาจจะมีความสูงหลายขนาด...เอาละ...ทุกขนาด  ไม่ว่าเล็ก ใหญ่...ได้มีโอกาสที่จะต่อสู้หรือร่วมพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา...เริ่มจากไหนดีล่ะ....เริ่มอย่างไรก็ได้ให้เป็นไปตามเกณฑ์การแข่งขัน.....ป้อนสู่ตัวผู้เรียน...จนมั่นใจว่าสามารถเดินเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้จริง...อย่างมั่นอกมั่นใจ...เสมือนเราผู้เป็นครูฝึกนี่แหละเข้าแข่งขันซะเอง...ซึ่งแต่ละคนก็มีเทคนิคแตกต่างกันไป...กลยุทธ์ของใครที่ใช้ได้ก็รับไปเลย...เป็นตัวแทนระดับกลุ่มฯ...ระดับเขตพื้นที่..และสู่ระดับประเทศ...เราโรงเรียนเล็ก..วิ่งเต็มที่ทุก...เที่ยว..แต่ดีใจกับเพื่อนเสมอที่ได้รางวัลระดับภาค..ระดับประเทศ....เพราะเราก็สู้อย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว....สู้อย่างพอใจว่า...ได้ที่เท่าไหร่...มาตรฐานคุณภาพ...เราก็สัมผัสได้เช่นกัน...แม้อาจจะไม่ใช่เวทีที่สูงสุด......แต่ก็เป็นรางวัลสูงสุดที่เราภูมิใจที่ได้มาแบบสุด ๆ ...ของเรา.....พอใจในความสามารถและมาตรฐานที่เราก็พัฒนาขึ้นได้เช่นกัน...นะจะบอกให้....จงพอใจในความสามารถที่เรามีเป็นที่สุด...นั่นแหละถูกต้องที่สุดแล้ว.....เรา...ชาวพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาด้วยกัน.......

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กับการประเมินรอบสามที่ไม่แน่ใจว่าจะผ่านไหม?

     ผ่านการประเมินแล้วรอบสามเมื่อ  10  13  14  มิ.ย. 54  ก็ไม่โล่งใจเท่าไร  อย่างที่รู้กันนั่นแหละ  ตัวบ่งชี้ที่ 5 ไม่ทราบจะผ่านหรือไม่  เกณฑ์ตั้งสูงซะขนาดนั้น  คิดแล้วก็หวั่นวิตกน่าดู  แต่ก็ประเมินไปแล้ว
     ได้ข้อคิดมากมายกับการรับการประเมิน  ว่า  การจัดการศึกษาที่สนองนโยบาย  การตั้งใจทำงานของครูถ้าท่านคิดว่าทุ่มเทสุด ๆ จิตอาสาต่อการทำงาน ตลอดเวลา  และมั่นใจว่าผลที่เรากระทำสู่เด็ก  สู่โรงเรียน  และสู่ชุมชนจริง  ท่านจะเขยิบเข้าหาเกณฑ์ที่จะผ่านมากที่สุด  เพราะการมาประเมินของคณะกรรมการมาแบบกัลยาณมิตรมาก ๆ เรียกว่าใจดีแต่เก็บข้อมูลแบบเชิงลึกมาก ๆ ราวกับว่าเก็บข้อมูลเราไปก็บอกวิธีการปฏิบัติงานที่เดินได้ถูกทางไปด้วย...ดีมาก...โดยเฉพาะเอกลักษณ์  อัตลักษณ์...ชัดเจนเห็นภาพไปเลยล่ะ...ทำให้มองภาพออกว่า..อนาคตหรือหลังจากประเมินแล้วเราควรจะจัดการศึกษาอย่างไรผลจึงจะเกิดที่เด็กอย่างแท้จริงเป็นสำคัญ...
      การเตรียมรับการประเมินที่ดีในมุมองของข้าพเจ้า 1)SAR ท่านต้องดี มีรายละเอียดครบ มีการประกันคุณภาพภายใน 18 มาตรฐานจริง มีเครื่องมือประเมินจริง ๆ เพราะเครื่องมือคือที่มาของผลการประกันคุณภาพภายในในแต่ละมาตรฐานทั้ง 18 มาตรฐาน  2)ประเมิน 18 มาตรฐานแล้ว มาจัดทำร่องรอยว่าในแต่ละมาตรฐานท่านทำโครงการ กิจกรรม สอดคล้องแต่ละมาตรฐานตามจริงที่ส่งผลตามตัวบ่งชี้แต่ละมาตรฐานและสู่ผู้เรียนอะไรบ้าง  ...ตามสภาพจริงและสู่เด็กเป็นสำคัญ  โดยมีการดำเนินการตาม หลัก PDCA ล้อมาจากแผนกลยุทธ์  และแผนปฏิบัติการที่ทำแต่ละปี  ย้อนหลังไป 3 ปี (51-53)  มีประเมินโครงการ กิจกรรมเมื่อดำเนินการสิ้นสุดโดยสรุปสู่ Output และ Outcome ที่สู่ตัวเด็กให้ได้ เช่น กิจกรรมให้เด็กนั่งสมาธิ ตรงนี้เป็นกระบวนการทำ  แต่ต้องตอบได้ว่าเมื่อนักเรียนนั่งสมาธิแล้วเกิดอะไรตามมาหลังจากทำกิจกรรมนั่งสมาธิ  กรรมการต้องการคำตอบตรงนั้น  กิจกรรมอื่นก็เช่นเดียวกัน...ตอบคำถามให้ได้ว่าทำแล้วเด็กได้อะไร..เกิดอะไรกับเด็ก..โรงเรียน...ชุมชน..จากที่เราฝึกเราสอนมาทั้งปี  3)ทำร่องรอยแล้ว..ทีนี้ก็เตรียมหลักฐานตามโครงการ กิจกรรม ตามร่องรอยที่กำหนด(ย้อนหลัง 3 ปี เสมอ)...แม้ว่ากรรมการจะบอกว่าไม่ต้องจัดไว้ให้เดี๋ยวจะดูเอง...อย่าเลย..ทำเสริฟไว้ดีกว่า..เป็นการให้เกียรติ...เป็นการให้รู้ว่าเรา...พร้อมรับการประเมินอย่างเต็มที่แล้ว..ดีกว่า..เพราะการเตรียมจะหยิบจับและนำเสนอได้ง่ายที่สุด...ปานนั้นก็ยังหาเจอว่าเราไม่สมบูรณ์ในส่วนไหน...หาเก่งมาก..ต้องยอมรับเลยล่ะ...แต่ไม่น่ากลัวเพราะจะติเพื่อก่อมากกว่า..ต้องการชี้ให้เห็นการทำงานว่าต้องดำเนินการเป็นวงจร PDCA โดยตลอด 4)ที่นี้เวลาวางงาน..มุมมองนะ..ให้นำ 18 มาตรฐานมาสรุปเป็นตัวบ่งชี้ที่กรรมการจะประเมิน..ดีกว่า..และแยกข้อมูลและแยกร่องรอยเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มผู้เรียน  ครู  และผู้บริหาร...สำหรับเอกลักษณ์และมาตรการส่งเสริมทำต่างหากแยกให้เห็นชัดเจนและโดดเด่น....มาที่วางงาน..ตัวอย่างให้นำมาตรฐานที่7,8 มาสรุปเป็นปก..บอกว่าสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ที่  1  ...แล้วเช็คหลักฐานการวางประกอบโดยดูจากเอกสารประกอบการพิจารณาในคู่มือประเมินรอบสามทุกอย่างตามนั้น และ5)สำคัญที่สุดคือเตรียมเด็กให้ได้ตามกิจกรรมการสอนที่เป็นจริงตามตัวบ่งชี้ทั้งของเด็ก  ครู  และผู้บริหาร..โดยเฉพาะเด็กเพราะกรรมการจะเข้าไปเจาะลึกโดยตรง....เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ส่งเสริมชุมชน  กรรมการสถานศึกษาต้องรู้ด้วยกับเราว่าคืออะไร....ทำได้ขนาดนี้ก็พอได้ลุ้นกันล่ะ...อย่าไปคำนึงตัวบ่งชี้ที่ 5..เพราะเป็นวิทยาศาสตร์...ผ่านก็ดีไป...แต่ไม่ผ่านก็มีโอกาสตั้ง 2 ปีได้แก้ไข...ผ่านเมื่อไรก็รับรองให้เมื่อนั้น...ต้องยอมรับความเป็นวิทยาศาสตร์ที่หลายโรงเรียนโดนแทบทั้งนั้น...ต้องทำตัวบ่งชี้อื่นนอกเหนือจากตัวบ่งชี้ที่ 5...ให้ผ่านให้มากที่สุด...เพราะถ้าไม่ผ่านแม้ 1 ตัวบ่งชี้ก็ คือ การรับการประเมินใหม่ทั้งหมด......
          พูดแล้วก็หวั่น ๆ อยู่เหมือนกัน...แต่ก็อยากจะฝาก...และแลกเปลี่ยนกันตรงนี้กับการรับการประเมินรอบสามที่สมศักดิ์ศรีของเรา...ผลออกมาอย่างไงก็ช่าง...ต้องรับได้อยู่แล้ว...หลังประเมิน  20  วันก็จะรู้ผลจากฉบับร่าง...ประเมินเร็วเสร็จเร็ว...ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด...เราจะได้รับสิ่งดี ๆ จากผู้ประเมินจริง ๆ ถ้าเรามีความพร้อมมากพอ...ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกโรงเรียนที่รอรับการประเมิน.......