หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้นำ ผู้ตาม

        ผู้นำทางการศึกษา คือผู้บริหาร ที่เราเข้าใจกัน ผู้ตามก็คือ ผู้ที่ทำงานร่วมกัน คณะครู นักการ ครูธุรการ ครูพี่เลี้ยง พนักงานราชการ รวมไปถึงอัตราจ้าง บทบาทผู้นำ คือ ต้องนำทางสู่เป้าหมายทางการศึกษา ต้องประคับประครองคุณภาพทางการศึกษาไม่ให้เดินหลงทาง ผู้ตามร่วมปฏิบัติตาม แต่ในการปฏิบัติตามบางครั้งก็มีจุดสะดุด มาจากความไม่เข้าใจในการทำงาน มอบงานอย่างไม่เข้าใจ  ทำงานแบบไม่เข้าใจ  ต่าง ๆ นานา  แล้วตรงไหนจะเข้าใจ ถ้าเราไม่เข้าใจในบทบาทเสียก่อน คนเราหากเข้าใจบทบาทว่าเรามีบทบาทอย่างไร เราสามารถที่จะทำงานโดยไม่มีผู้บริหารก็ได้ ถ้าเข้าใจในการทำงานดีพอ......แต่ไม่เป็นอย่างงั้นเสมอไป  เพราะบางคนอาจหมายถึงผู้บริหารเอง  ตัวผู้ปฏิบัติเองไม่เข้าใจบทบาทที่ดีพอ บางท่านชอบบอกชอบสอนผู้บริหาร เป็นทิศทางย้อนศร ถ้าสร้างสรรค์แล้วคงไม่มีใครว่าได้ แต่ทำไมเราไม่คิดมุมกลับ ว่าการปฏิบัติงาน ปฏิบัติตน เราต้องฟังนโยบายก่อนว่าเป็นอย่างไร เราถึงจะวางบทบาทตนเองได้ถูก และการทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดี  การเสนอความคิดเห็นที่อยู่ในกรอบ การมีสัมมาคาวะต่อผู้นำ การอ่อนน้อม การทำตาม คิดว่ายังไม่เป็นการเชยจนเกินไป ยังใช้ได้ดี เพราะการปฏิบัติงานเช่นนี้เป็นการทำงานอย่างมีเสน่ห์  ทำงานอย่างมีความสุข  ความคิดเห็นที่แตกต่างต่างคนต่างถกเถียง คนกลางที่แต่งตั้งมาบริหารมาดูแล คือ ผู้นำ ผู้ตามหากคิดเห็นแบบเชื่อมั่นในตนจนมองข้ามความเป็นกรอบเป็นนโยบายอยู่ตลอดเวลา  ถามว่าเราจะแล่นเรือแห่งคุณภาพทางการศึกษาไปทางไหน หากคุณไม่มั่นใจในผู้นำ ไม่ศรัทธาในผู้นำของคุณ ครูใช้คำว่าสอนกับนักเรียน  ผู้นำสอน อบรม ชี้แนะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ตาม ตามครรลองนโยบายและการปฏิบัติที่เขาได้ผ่านการอบรมมาระดับหนึ่ง  ผู้ตามมีสิทธิในการเสนอความคิดเห็นได้หลากหลายแต่ภายใต้กรอบที่ควรต้องปฏิบัติร่วมกันที่เรียกว่านโยบาย  หากใช้คำเพี้ยนจากเสนอเป็นสอนผู้นำ...ท่านมั่นใจใช่ไหมว่าท่านมีแบบอย่างที่เป็นเสน่ห์มากพอจะสอนเขาได้.....ลองหยุดคิดให้ดี....เพราะบทบาทผู้นำ...ผู้ตาม...ถูกกำหนดไว้เป็นอย่างดี...ผ่านการอบรมหลายสนามทุก ๆ คน ทั้งผู้นำและผู้ตาม  ความคาดหวังลึก ๆ ก็เพียงเราเข้าใจบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน...งานและเป้าหมายการศึกษาก็อยู่ไม่ไกล....หรอกท่าน.......ขอให้ทำงานอย่างมีเสน่ห์ทั้งในกรอบและนอกกรอบงานที่ท่านจะเดิน....ก็..O.K...แล้ว...